ไม่ต้องสนใจว่าใครจะว่าเราเป็นคนยังไง

วันพุธที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

สัมนาฟรี จุดประกายตลาดใหม่ นวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ไทย 15 ธค 53

การสัมมนาเรื่อง
“จุดประกายตลาดใหม่...นวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ไทย ไม่ไกลเกินเอื้อม”
วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณ ห้องบอลลูม โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด
...................................................................................................................................................
๐๘.๓๐ -๐๙.๐๐ นาฬิกาแขกผู้มีเกียรติลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ นาฬิกาประธานกล่าวต้อนรับ โดย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กล่าวรายงาน โดย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กล่าวเปิดและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ก้าวต่อไปของวัสดุการแพทย์ไทย”
โดย รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม
รับประทานอาหารว่างในห้องสัมมนา
๑๐.๐๐ – ๑๐.๔๕ นาฬิกา     โอกาสและความพร้อมของผู้ประกอบการไทย ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์
โดย นายภารดร จุลชาต รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก และ
นายจารุเดช คุณะดิลก กรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม.อี. เมดิเทค จำกัด
๑๐.๔๕ - ๑๒.๓๐ นาฬิกา    สร้างโอกาส เสริมความพร้อม ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ  โดย
ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
นายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน
นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ผู้แทนคณะกรรมการอาหารและยา
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดำเนินรายการ โดย นางอุไรวรรณ จันทรายุ ผอ.สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม         
๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ นาฬิการ่วมรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ นาฬิกา เสวนา “ไทยคิด ไทยผลิต ไทยใช้”
โดย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน องค์การเภสัชกรรม,
รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเชา ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม  
ผู้แทนคณะกรรมการอาหารและยา
ดำเนินรายการ โดย นายแพทย์ฆนัท ครุธกูล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  
๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ นาฬิกาแนวโน้มตลาดของอุตสาหกรรมการแพทย์
โดย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย
ดำเนินรายการ โดย นางสาวศุภธิดา ตันบุญเอก บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
รับประทานอาหารว่างเวลา ๑๕.๑๕ - ๑๕.๔๕ นาฬิกา
๑๖.๐๐ - ๑๖.๑๕  นาฬิกากล่าวปิดการสัมมนา โดย ดร.พสุ โลหารชุน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : กำหนดการและรายชื่อผู้ร่วมอภิปรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การสัมมนาเรื่อง “จุดประกายตลาดใหม่...นวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ไทย ไม่ไกลเกินเอื้อม”
จัดโดย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณ ห้องบอลลูม โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด
---------------------------------------------------------------
๑. หลักการและเหตุผล                                       
เนื่อง จากที่ผ่านมา รัฐต้องใช้งบประมาณในด้านสาธารณสุขจำนวนมาก โดยในปี ๒๕๔๖ งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข กว่า ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ใช้ไปในการนำเข้า วัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องมาจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศ ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร รวมถึงการขาดความน่าเชื่อถือในคุณภาพ ของสินค้าที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยังถือได้ว่ายังมีอนาคตที่ดี ดังเห็นได้จากแนวโน้มการส่งออก ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ยอดการส่งออก ปี ๒๕๕๒ มีมูลค่า 12,420 ล้านบาท และยอดการส่งออก ปี ๒๕๕๑ มีมูลค่า 10,440 ล้านบาท ซึ่งหากคิดอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๑๘.๙๗ จึงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพ  ในการส่งออกเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปยังต่างประเทศได้ แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย ยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ เช่น การขาดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต  ความเชื่อถือของผู้ใช้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ การขาดข้อมูลและความช่วยเหลือในด้านการตรวจสอบมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการตรวจสอบและรับรองคุณภาพนั้น ต้องส่งไปดำเนินการในต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังประสบกับปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากร การส่งเสริมด้านวิชาการและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างภาษีที่ไม่เหมาะสม กฎระเบียบข้อบังคับของทางราชการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา และขาดการสร้างระบบการเชื่อมโยง เพื่อประสานการทำงานร่วมของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน จากเหตุผลข้างต้น ส่งผลให้มีผู้ประกอบการผลิต ในตลาดเคมีภัณฑ์ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศ มีจำนวนน้อยราย ทำให้ตลาดมีขนาดเล็ก และต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าอยู่มาก
ดังนั้น การจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นการจุดประกายให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นศักยภาพและ ข้อได้เปรียบของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัย ลงทุน และขยายตลาดของอุตสาหกรรมวัสดุทางการแพทย์ของประเทศให้ทัดเทียบในระดับนานา ชาติ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ ของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องดำเนินการและไม่ควรมองข้าม โครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงควรจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน เคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ที่มีทั้งการจัดให้มีกองทุนวิจัยร่วม การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่รัฐลงทุนร้อยละ ๕๐ และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย อีกทั้งเพิ่มเติมงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัยพื้นฐาน และมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจรที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ทั้งรายได้ การจ้างงาน และการเพิ่มมูลค่าสินค้า นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ยา เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ
๒. วัตถุประสงค์
  1. เพื่อ สร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการ แพทย์ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
  2. เพื่อ การสร้างความร่วมมือและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเป็นความร่วมมือและความเชื่อมโยงกันของภาคส่วนต่าง ๆ และเน้นการใช้เทคโนโลยีการจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ตลอดโซ่อุปทาน ตั้งแต่ขั้นตอนขั้นวัตถุดิบ ขั้นการแปรรูป ขั้นการจัดจำหน่าย และการใช้งาน
  3. เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการลงทุน โดยสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้ลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศและช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์ในประเทศ ให้เป็นรูปธรรม

๓. รูปแบบกิจกรรม
    การสัมมนาและการอภิปราย
๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        ๔.๑ มีผู้ประกอบการและองค์การที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ความสนใจเชื่อมโยง  
                การผลิตและการค้าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
        ๔.๒ เกิดทิศทางและความต้องการในการเริ่มต้นเครือข่ายผลิตภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เชิงพาณิชย์โดย
            การกำหนดผลิตภัณฑ์เบื้องต้นเพื่อดำเนินการร่วมกันต่อไป
๕. วันเวลาการเสวนา
    วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๑๕ นาฬิกา
๖. ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ประมาณ ๓๐๐ ท่าน ประกอบด้วย
  • ผู้ประกอบการ
  • นักวิจัย / นักวิชาการ
  • ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย สถานพยาบาล
  • ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย สถานพยาบาล
  • สื่อมวลชน

๗. สถานที่จัดสัมมนา
ณ ห้องบอลลูม โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด
๘. งบประมาณสนับสนุน
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
๙. ผู้ให้ความร่วมมือ
  • คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • องค์การเภสัชกรรม
  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

-----------------------------------------
สนใจติดต่อ    คุณอริยาพร / คุณชัญญา
โทรศัพท์ 0 2202 4575, 0 2202 4581
โทรสาร   0 2354 3151
e-mail: ariyaporn@dip.go.th
ส่วนส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม
        สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม
        กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกันนะคะ